การปลูกข้าว

การปลูกข้าว

การปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายอย่าง เช่น การ ปลูกด้วยข้าวพันธุ์ดี วิธีการปลูกและดูแลรักษาดี มีการป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูข้าว มีการกำจัดวัชพืช มีการใส่ปุ๋ยในนาข้าว มีการรักษาระดับน้ำ ในนา ข้าวพันธุ์ดีจะให้ผลิตผลสูง เมื่อได้มีวิธีการปลูก และดูแลรักษาดีเท่านั้น ฉะนั้น ผู้ปลูกข้าวจะต้องมีความเข้าใจว่า ข้าวพันธุ์ดีที่รัฐบาลส่งเสริมให้ชาวนาปลูกนั้น ควรได้รับวิธีการปลูกและดูแลรักษาอย่างไร ที่เป็นอย่างนี้ เพราะข้าวพันธุ์ดีมีลักษณะรูปต้นไม่เหมือนกับพันธุ์พื้นเมือง ที่ชาวนาปลูกกันมาตั้งแต่สมัยก่อน ข้าวพันธุ์ดีในที่นี้หมายถึง พันธุ์ข้าวที่มีลักษณะรูปต้นดี เช่น มีความสูงประมาณ ๑๐๐-๑๓๐ เซนติเมตร จากพื้นดินถึงปลายรวงของรวงที่สูงที่สุดแตกกอมาก ใบสีเขียวแก่ ตั้งตรง ปลายใบไม่โค้งงอ และเป็นพันธุ์ ที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลง ตอบสนองต่อปุ๋ยสูง คือ ให้ผลิตผลสูงมากขึ้น เมื่อใส่ปุ๋ยมากขึ้น ดังนั้น การปลูกข้าวพันธุ์ดี เพื่อให้ได้ผลิตผลสูงนั้นควรปฏิบัติดังนี้

๑. การเตรียมดิน

การเตรียมดินควรทำการไถดะ ๑ ครั้ง และไถแปร เพื่อทำให้ดินแตกละเอียดพอสมควรอีก ๒ ครั้ง แล้วคราดเอาหญ้าออก สำหรับในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียว การคราดครั้งสุดท้าย จะต้องทำให้ดินแตกเป็นเทือกโคลนด้วย เพราะจะทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโต และตั้งตัวได้รวดเร็ว รากจะเดินหาอาหารได้สะดวก ขณะที่กำลังปักดำ ระดับน้ำในนาควรมีประมาณ ๕ เซนติเมตร เพื่อจะได้ช่วยประคองไม่ให้ต้นพับ สำหรับดินทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะต้องทำการปักดำทันที หลังจากที่ได้ไถดะ และเก็บวัชพืชออกแล้ว เพราะเป็นดินทราย มีอินทรียวัตถุต่ำและดินตกตะกอนเร็ว ทำให้ดินเกาะตัวเป็นพื้นแข็ง หลังจากการไถแล้วหนึ่งวัน จนทำให้ยากแก่การปักดำ การที่จะปรับปรุงดิน ให้เหมาะกับการปลูกข้าวนั้น ให้หว่าน สารซิลิคอนโวก้า ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่  ทั้งนี้เพื่อให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น นอกจากนี้ การไถกลบตอซัง ก็มีส่วนช่วยให้ดินดีขึ้น และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินด้วย

 

การเตรียมดินเพื่อปลูกข้าว
การเตรียมดินเพื่อปลูกข้าว

๒.การเลือกใช้ต้นกล้าปักดำ

การใช้ต้นกล้าที่มีอายุแก่เกินไปมาปักดำ จะทำให้มีการแตกกอน้อยและให้ผลิตผลต่ำ อายุของต้นกล้าที่เหมาะสำหรับการปักดำ ควรมีอายุประมาณ ๒๕-๓๐ วัน พันธุ์ข้าวพวก กข.๗ กข.๙ กข.๒๑ กข.๒๓ และ กข.๑๐ (กข. หมายถึง กรมการข้าว และเลขคี่ หมาย ถึง ข้าวเจ้า เลขคู่ หมายถึง ข้าวเหนียว เพราะฉะนั้น กข.๗ และกข.๙ เป็นข้าวเจ้า ส่วน กข.๑๐ เป็นข้าว เหนียว) ต้นกล้าที่มีอายุ ๒๐ วัน ก็ใช้ได้ ต้นกล้าที่มีอายุ ดังกล่าวนี้ จะฟื้นตัวเร็วหลังปักดำ และมีการแตกกอมาก

ถอนกล้าข้าวเพื่อนำไปปักดำ

๓. เวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหรือปักดำ

การปลูกข้าวเร็วหรือช้าเกินไป อาจทำให้ผลิตผลลดลงได้ เป็นต้นว่า ใช้พันธุ์ข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสง ปลูกในฤดูนาปี โดยปลูกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ทั้งๆ ที่ พันธุ์ดังกล่าวนี้ จะออกรวงในต้นเดือนธันวาคม ทำให้ต้นข้าวต้องอยู่ในนา นานกว่าจำเป็น เปิดโอกาสให้โรคและแมลงเข้าทำลายต้นข้าวได้เป็นเวลานาน เดือนที่เหมาะสม สำหรับการปลูกพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง และออกดอกในต้นเดือนธันวาคมนี้ คือ เดือนสิงหาคม เพราะต้นข้าวจะได้มีเวลาเจริญเติบโต จนออกรวง ประมาณ ๑๒๐ วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่จำเป็น สำหรับข้าวที่ให้ผลิตผลสูง แต่ถ้าปักดำช้ากว่านี้ ต้นข้าวจะมี ระยะเวลาไม่เพียงพอกับการเจริญเติบโต จึงทำให้ได้ ผลิตผลต่ำกว่าที่ควร อย่างไรก็ตาม สภาพของอากาศ และความยาวของช่วงแสงของกลางวัน อาจมีอิทธิพล ต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว เพราะพันธุ์ข้าวที่ไม่มีความไวต่อช่วงแสง ย่อมให้ผลิตผลไม่สูง ถ้าปลูกในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น พันธุ์ กข.๑ ให้ผลิตผลสูง เมื่อปลูกในฤดูนาปรัง โดยจะเริ่มปลูกในเดือนกุมภาพันธ์ แต่จะให้ผลิตผลต่ำ ถ้าเริ่มปลูกในเดือนธันวาคม

๔. ระยะปลูก

ระยะปลูกก็มีความสัมพันธ์กับการให้ผลิตผล ระยะปลูกนั้น หมายถึง ระยะห่างระหว่างกอ และระหว่างแถว ถ้าปลูกห่าง ก็จะเปลืองเนื้อที่ ถ้าปลูกถี่ ก็จะเปลืองเมล็ดพันธุ์ ระยะปลูกที่ดีสำหรับข้าวพันธุ์ดี คือ ระหว่างกอ ห่างกัน ๒๐ เซนติเมตร และระหว่างแถวห่างกัน ๒๕ เซนติเมตร นอกจากนี้ ระยะปลูกนั้นยังขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และชนิดของพันธุ์ข้าวด้วย ในที่ดินทรายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความอุดมสมบูรณ์ของดินเลว จะต้องปลูกให้ถี่กว่าในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินดี คือ ระยะห่างระหว่างกอ และระหว่างแถวอาจเป็น ๑๕ และ ๒๐ เซนติเมตรตามลำดับ เพราะการแตกกอน้อยในดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินเลว แต่ละกอที่ปักดำ ควรใช้ต้นกล้าประมาณ ๓-๕ ต้น ส่วนนาหว่านควรใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ ๘-๑๕ กิโลกรัม/ไร่

๕. การใส่ปุ๋ย

ปุ๋ยเป็นอาหารพืชที่ต้นข้าวต้องการมากสำหรับ การเจริญเติบโต โดยเฉพาะดินนา ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  จะต้องมีการใส่ปุ๋ยในดินนั้น เพื่อต้นข้าวจะได้แข็งแรง แตกกอมาก และให้ผลิตผลสูง ควรใส่ปุ๋ยทั้งในแปลงกล้า และแปลงปักดำ ตลอดถึงพื้นที่นาที่ปลูกแบบหว่าน ธาตุอาหารที่ต้นข้าวต้องการปุ๋ยมาก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพราะ ฉะนั้น ปุ๋ยข้าวจะต้องมีธาตุเหล่านี้จำนวนมาก การใส่ ปุ๋ยควรแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก ก่อนตกกล้า ปัก ดำ ซึ่งเรียกว่า ปุ๋ยรองพื้น  ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า ปริมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่  ร่วมกับปุ๋ยเคมี 16-20-0  สำหรับดินเหนียว หรือ 16-16-8 สำหรับดินทราย  ปริมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่   และครั้งที่ 2 ก่อนออกรวง ซึ่งเรียกว่า ปุ๋ยแต่งหน้า ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย 10 กิโลกรัมต่อไร่

๖. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โวก้า จะช่วยทำให้ข้าวแข็งแรง ลดปัญหาโรคแมลงลงได้มาก  ประกอบกับข้าวพันธุ์ดีก็มีความต้านทานต่อโรคและแมลงอยู่แล้ว แต่เกษตรกรก็ควรตรวจดูแปลงข้าวอยู่เสมอ ว่ามีโรคแมลงเข้ามาทำลายหรือไม่ เพื่อจะได้กำจัดเสียแต่เนิ่น ๆ

๗. การกำจัดวัชพืช

วัชพืชในนามีหลายชนิด แต่ละชนิดต่างก็พยายามจะแย่งอาหารหรือปุ๋ยจากต้นข้าว เพราะฉะนั้น ชาวนาจะต้องกำจัดวัชพืชให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การปราบวัชพืชทำได้โดยวิธีการใช้มือถอน หรือใช้ยาฆ่าวัชพืชก็ได้ ยาที่ใช้ก็มีทั้งรูปที่เป็นน้ำเหลว หรือเป็นเม็ดหว่าน ลงไปในนาได้โดยตรง

๘.การรักษาระดับน้ำในนา

น้ำในนาหลังจากปลูกข้าวแล้ว ควรควบคุมระดับน้ำให้อยู่ประมาณ 5 เซนติเมตร เพราะน้ำในระดับนี้  เพียงพอต่อความต้องการของต้นข้าว เพื่อคุมวัชพืชไม่ให้งอกมาแย่งปุ๋ย และยังสามารถละลายปุ๋ยที่เข้มข้นให้เจือจาง กระจายได้พอเหมาะไปทั่วแปลง แต่หากน้ำมีมากเกินไปจะทำให้ปุ๋ยเจือจาง ระเหยไปกับน้ำเมื่อถูกแสงแดด   และเมื่อต้นข้าวออกรวงได้แล้วประมาณ ๒ สัปดาห์ จะต้องไขน้ำออกจากนา ให้หมด เพื่อทำให้เมล็ดแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ใน ขณะที่ดินนานั้นแห้ง ทำให้สะดวกแก่การเข้าไปเก็บ เกี่ยว การขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโตของข้าว นอกจากจะทำให้ต้นข้าวไม่เจริญเติบโตแล้ว ยังทำให้ เกิดมีวัชพืชจำนวนมากด้วย

ระดับน้ำในนาข้าว
ระดับน้ำในนาข้าว

ซิลิคอน กับข้าว

ข้าวเป็นพืชที่สะสมซิลิคอน  มีปริมาณมากถึง 10% ของน้ำหนักแห้ง ซิลิคอนเป็นธาตุที่มีความสำคัญมากกับข้าว ข้าวที่ขาดซิลิคอนจะมีอาการดังนี้

  • ลำต้นและใบลู่ลง ทำให้เกิดการบังแสงกันเอง
  • การสังเคราะห์แสงลดลง
  • ผลผลิตลดลง
  • อัตราการเกิดโรคสูงขึ้น ได้แก่ โรคไหม้  โรคใบจุดสีน้ำตาล
  • จำนวนช่อดอกลดลง ช่อดอกไม่สมบูรณ์
  • ล้มง่าย

ดังนั้นการเสริมซิลิคอน มีความสำคัญมากต่อการเพิ่มผลผลิต และการป้องกันโรคข้าว  โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งเป็นเขตร้อน มีการชะล้างซิลิคอน ออกจากแปลงในปริมาณสูง   หากข้าวมีอาการดังกล่าว ควรปรับสภาพดิน และเสริมสารซิลิคอน ด้วย สารเพิ่มผลผลิตซิลิคอนโวก้า และปุ๋ยอินทรีย์โวก้า ซึ่งมีแอคทีฟซิลิคอนในปริมาณสูง

พันธุ์ข้าว

พันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอันดับแรกในการเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ถ้าหากว่ามีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ทั้งข้าวคุณภาพดี ข้าวคุณภาพปานกลาง ข้าวคุณภาพต่ำ และข้าวคุณภาพพิเศษ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดและเพื่อทำผลิตภัณฑ์มีความต้านทานต่อโรคแมลง และมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นแล้วจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายใน การผลิตข้าวหรือเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้เป็นอย่างดี
จากอดีต ถึงปัจจุบัน สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้ดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้าวพันธุ์รับรอง พันธุ์แนะนำ และพันธุ์ทั่วไป ให้เกษตรกรปลูกในระบบนิเวศต่างๆ ซึ่งมีทั้งพันธุ์ข้าวนาสวน ข้าวไร่ ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวน้ำลึก ธัญพืชเมืองหนาว และข้าวญี่ปุ่น จำนวน 93 พันธุ์ ดังนี้

ข้าวนาสวนพันธุ์ไวต่อช่วงแสงจำนวน 35 พันธุ์
ข้าวนาสวนพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงจำนวน 29 พันธุ์
ข้าวขึ้นน้ำพันธุ์ไวต่อช่วงแสงจำนวน 5 พันธุ์
ข้าวน้ำลึกพันธุ์่ไวต่อช่วงแสงจำนวน 5 พันธุ์
ข้าวน้ำลึกพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงจำนวน 1 พันธุ์
ข้าวไร่พันธุ์ไวต่อช่วงแสงจำนวน 7 พันธุ์
ข้าวไร่พันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงจำนวน 1 พันธุ์
ข้าวแดงหอมพันธุ์ไวต่อช่วงแสงจำนวน 1 พันธุ์
ข้าวแดงหอมพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงจำนวน 1 พันธุ์
ข้าวญี่ปุ่น จำนวน 2 พันธุ์
ข้าวสาลี จำนวน 4 พันธุ์
ข้าวบาร์เลย์ จำนวน 2 พันธุ์

พันธุ์ข้าวเหล่านี้มีทั้งชนิดข้าวเจ้าและข้าวเหนียว มีทั้งพันธุ์ที่ปลูกเฉพาะนาปีและปลูุกได้ตลอดปี และมีบางพันธุ์เป็นข้าวหอม พันธุ์ข้าวส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ให้ีผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ มีคุณภาพการหุงต้มตามความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาสำคัญ อย่างไรก็ตามงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวยังคงต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะพันธุ์ที่ออกแนะนำแล้วปัจจุบันบางพันธุ์เกษตรกรอาจจะยังคงนิยมปลูกอยู่ แต่บางพันธุ์เกษตรกรอาจเลิกปลูก เนื่องจากมีข้อด้อยบางประการ การนำเอาพันธุ์ข้าวเหล่านั้นไปใช้ของเกษตรกรจึงเป็นไปในลักษณะของการแก้ ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะที่ออกพันธุ์ข้าวนั้นเท่านั้น รวมทั้งบางพันธุ์เมื่อแนะนำให้ปลูกไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วอาจไม่มีความ เหมาะสมในระยะเวลาต่อมา เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง หรือโรค แมลงศัตรูข้าวมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องหาพันธุ์ที่มีคุณภาพดีตามความต้องการของตลาดโลก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดโลกได้ จึงต้องดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์โดยไม่มีที่สิ้นสุด

ชนิดของพันธุ์ข้าว
1) แบ่งตามนิเวศน์การปลูก
ข้าวนาสวน
ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ข้าวนาสวนมีปลูกทุกภาคของประเทศไทย แบ่งออกเป็น ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และข้าวนาสวนนาชลประทาน
– ข้าวนาสวนนาน้ำฝน
ข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี และอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การกระจายตัวของฝน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนประมาณ 70% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด
– ข้าวนาสวนนาชลประทาน
ข้าวที่ปลูกได้ตลอดทั้งปีในนาที่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ โดยอาศัยน้ำจากการชลประทาน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทาน 24% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด และพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง

ข้าวขึ้นน้ำ
ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขังในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำคือ มีความสามารถในการยืดปล้อง (internode elongation ability) การแตกแขนงและรากที่ข้อเหนือผิวดิน (upper nodal tillering and rooting ability) และการชูรวง (kneeing ability)

ข้าวน้ำลึก
ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร

ข้าวไร่
ข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ

ข้าวนาที่สูง
ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังบนที่สูงตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป พันธุ์ข้าวนาที่สูงต้องมีความสามารถทนทานอากาศหนาวเย็นได้ดี

2) แบ่งตามการตอบสนองต่อช่วงแสง
ข้าวไวต่อช่วงแสง
เป็นข้าวที่ออกดอกเฉพาะเมื่อช่วงเวลากลางวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง โดยพบว่าข้าวไวต่อช่วงแสงในประเทศไทยมักจะออกดอกในเดือนที่มีความยาว ของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 40 นาที หรือสั้นกว่านี้ ดังนั้นข้าวที่ออกดอกได้ในเดือนที่มีความยาวของกลางวัน 11 ชั่วโมง 40-50 นาที จึงได้ชื่อว่าเป็นข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสงน้อย (less sensitive to photoperiod) และพันธุ์ที่ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 10-20 นาทีก็ได้ชื่อว่าเป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสงมาก (strongly sensitive to photoperiod) พันธุ์ข้าวประเภทนี้จึงปลูกและให้ผลผลิตได้ปีละหนึ่งครั้ง หรือปลูกได้เฉพาะในฤดูนาปี บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาปี พันธุ์ข้าวในประเทศไทยที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสง

ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
เป็นข้าวที่ออกดอกเมื่อข้าวมีระยะเวลาการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามอายุ จึงใช้ปลูกและให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี หรือปลูกได้ในฤดูนาปรัง บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาปรัง

ตารางแสดงพันธุ์ข้าวต่างๆ

พันธุ์ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง

กข5ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1ลูกแดงปัตตานี
กข6เฉี้ยงพัทลุงเล็บนกปัตตานี
กข8ชุมแพ 60หางยี 71
กข12 (หนองคาย 80)นางพญา 132เหมยนอง 62 เอ็ม
กข13นางมล เอส-4เหนียวสันป่าตอง
กข15น้ำสะกุย 19เหนียวอุบล 1
กข27เผือกน้ำ 43เหนียวอุบล 2
กข35 (รังสิต 80)ปทุมธานี 60เหลืองประทิว 123
กำผาย 15พวงไร่ 2เหลืองใหญ่ 148
เก้ารวง 88พัทลุง 60เข็มทองพัทลุง
ขาวดอกมะลิ 105พิษณุโลก 3ข้าวหลวงสันป่าตอง
ขาวตาแห้ง 17พิษณุโลก 60-1แก่นจันทร์
ขาวปากหม้อ 148พิษณุโลก 80เจ๊กเชย 1

พันธุ์ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง

กข1กข29 (ชัยนาท 80)พิษณุโลก 2
กข2กข31 (ปทุมธานี 80)พิษณุโลก 60-2
กข3กข33 (หอมอุบล 80)แพร่ 1
กข4กข37สกลนคร
กข7กข39สันป่าตอง 1
กข9ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1สุพรรณบุรี 1
กข10ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรีสุพรรณบุรี 2
กข11ชัยนาท 1สุพรรณบุรี 3
กข14ชัยนาท 2สุพรรณบุรี 60
กข21ปทุมธานี 1สุพรรณบุรี 90
กข23บางแตนสุรินทร์ 1
กข25พัทลุง

พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง

ตะเภาแก้ว 161ปิ่นแก้ว 56เล็บมือนาง 111
นางฉลองพลายงามปราจีนบุรี

พันธุ์ข้าวน้ำลึกไวต่อช่วงแสง

กข19ปราจีนบุรี 1อยุธยา 1
หันตรา 60ปราจีนบุรี 2

พันธุ์ข้าวน้ำลึกไม่ไวต่อช่วงแสง

กข17

พันธุ์ข้าวไร่ไวต่อช่วงแสง

กู้เมืองหลวงซิวแม่จันเจ้าลีซอสันป่าตอง
ขาวโป่งไคร้ดอกพะยอมเจ้าขาวเชียงใหม่่
เจ้าฮ่อน้ำรู

พันธุ์ข้าวไร่ไม่ไวต่อช่วงแสง

อาร์ 258

พันธุ์ข้าวแดงไม่ไวต่อช่วงแสง

ข้าวหอมกุหลาบแดง

พันธุ์ข้าวแดงไวต่อช่วงแสง

ข้าวหอมแดงสังข์หยดพัทลุง