การปลูกปาล์มน้ำมัน

การปลูกปาล์มน้ำมัน  อย่างถูกวิธีจะทำให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันดีและให้ผลผลิตสูง

การกำหนดระยะปลูกปาล์มน้ำมัน นั้นควรดู ทิศทางของแสงแดดเพื่อให้ปาล์มน้ำมัน ได้รับแสงแดดมากที่สุดเพื่อให้ใบได้มีกระบวนการสังเคราะห์แสง ควรปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า  โดยแถวหลักที่เป็นฐานของสามเหลี่ยมอยู่ในแนวทิศเหนือ–ใต้ แถวถัดไปจะปลูกกึ่งกลางของแถวหลัก และระยะการปลูก 9×9 เมตรเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะเป็นระยะที่ห่างเพียงพอ ซึ่งเมื่อปาล์มโตเต็มที่แล้วใบจะไม่บังแสงกันเอง  ทำให้ต้นได้รับแสงมากที่สุด   ระยะปลูก 9×9 เมตรนี้ มีระยะระหว่างต้น 9 เมตร และระยะระหว่างแถว 7.8 เมตร โดยแถวติดกันจะปลูกสับหว่างกันดังรูป

ระยะปลูกปาล์มน้ำมัน
ระยะปลูกปาล์มน้ำมัน
กล้าปาล์มน้ำมัน
กล้าปาล์มน้ำมัน

หลุมปลูก เมื่อวางแนวปลูกและปักไม้เป็นเครื่องหมายแล้วขุดหลุมขนาดกว้าง 45 ซม. ยาว 45 ซม. ลึก 35 ซม. เป็นรูปตัวยูโดยให้จุดที่ปักไม้เป็นจุดกลางหลุมใช้เสียมแซะดินให้หลุมตั้งตรงขุดดินชั้นบนและชั้นล่างแยกกัน ตากไว้ประมาณ 10 วันก่อนนำต้นกล้ามาปลูก

ฤดูปลูก ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน คือ ต้นฤดูฝนประมาณ เดือนพฤษภาคม–มิถุนายน ควรปลูกเมื่อฝนเริ่มตกแล้วเพราะดินจะมีความชื้นเพื่อให้ต้นกล้าได้มีเวลาตั้งตัวในแปลงได้นาน

อายุต้นกล้าที่เหมาะสมประมาณ 10-12 เดือน ต้นกล้าที่มีอายุน้อยเกินไปจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและอ่อนแอต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ สำหรับต้นกล้าที่มีอายุมากเกินไปผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและตกผลช้าและไม่สะดวกในการขนย้ายบางครั้งไม่สามารถใช้ต้นกล้าที่มีอายุเท่าที่กำหนดได้เราสามารถแก้ไขได้โดยตัดใบบางส่วนทิ้งบ้างและระวังอย่าให้รากบอกบซ้ำจากการขนย้ายมากนัก การขนย้ายต้นกล้าควรขนย้ายต้นกล้าปาล์มน้ำมันด้วยความประณีต ไม่ให้กระทบกระเทือนมากเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต

วิธีการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ในแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกันแต่มีหลักสำคัญคือ

1.ใส่ในช่วงที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
2.ใส่บริเวณที่รากปาล์มน้ำมันดูดไปใช้ได้มากที่สุด
ระยะเวลา ควรใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอหลีกเหลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก ในปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย 4-5 ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปีช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยคือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝนตั้งแต่ปี่ 5 ขึ้นไปพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม

การแบ่งใส่ปุ๋ย ใส่ปีละ 2-3 ครั้ง ระยะต้นฝน กลางฝน และปลายฝน
ช่วงต้นฝน  คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม – กันยายน
ช่วงปลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน

วิธีการใส่ปุ๋ยควรใส่ครั้งแรกเริ่มปลูกปาล์มน้ำมันโดยใส่ปุ๋ยโวก้าอินทรีย์รองก้นหลุมโดยปี แรก ถึงปีที่ 4  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า ในอัตรา 1-3 กิโลกรัมต่อต้น แบ่งใส่ปีละ 2 ครั้ง

สำหรับปีที่ 5 เป็นต้นไป ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า 2.5 กิโลกรัมต่อต้น สลับกับปุ๋ยเคมี สูตร 5-3-15  2.5 กิโลกรัมต่อต้น

ปุ๋ยโวก้าอินทรีย์ มีส่วนผสมของ แอคทีฟซิลิคอน ซึ่งพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รวมถึงปาล์ม ดูดนำไปใช้ในปริมาณมาก ซิลิคอน จะช่วยให้ป้องกันเชื้อรา ทำให้ปาล์มทนแล้ง และเพิ่มเกสรตัวเมีย ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

เก็บผลผลิตปาล์มน้ำมัน
เก็บผลผลิตปาล์มน้ำมัน

ด้วงงวงปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีทั้งเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน แต่การเกิดดอกทั้ง 2 ชนิดนี้จะทยอยเกิดออกมาไม่พร้อมกัน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการผสมเกสรในต้นเดียวกัน จึงไม่มีหรือมีน้อยมาก   ดังนั้นการผสมเกสรทั้งหมดของปาล์มจะเป็นการผสมข้ามต้น  ซึ่งพาหะในการผสมเกสรก็คือ ลม และแมลง  ลมสามารถพัดเกสรปาล์มไปได้ไกลถึง 30 เมตร แต่กระนั้นก็ตาม การผสมเกสรของปาล์มก็ยังไม่ทั่วถึง  วิธีการเพิ่มผลผลิตปาล์มจึงต้องอาศัย การผสมด้วยคน หรือแมลง เป็นตัวช่วย

แมลงที่ช่วยผสมเกสรปาล์มน้ำมันคือด้วงงวงปาล์มน้ำมัน (African oil palm weevil) ซึ่งมีอยู่ 5 ชนิดคือ Elacidobius Kamerunicus Fst., Elacidobius Plagiatus Fst., Elacidobius Singularis Fst., Elacidobius Bilineatus Fst., Elacidobius Subrittatus Fst.  โดยด้วงงวงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และเหมาะกับประเทศไทยคือ Elacidobius Kamerunicus

ด้วงงวงปาล์มน้ำมัน
ด้วงงวงปาล์มน้ำมัน

ด้วงงวงปาล์น้ำมัน เป็นด้วงขนาดเล็ก  ความยาวลำตัว 1.8 มิลลิเมตร กว้าง 1 มิลลิเมตร  ด้วงงวงจะกัดกันเกสรตัวผู้ของปาล์ม  เป็นอาหาร โดยขณะที่มันกัดกินเกสรตัวผู้ เกสรตัวผู้จำนวนมากจะติดอยู่บนลำตัวของด้วง และเมื่อมันบินไปตอมเกสรตัวเมีย ก็จะพาเอาเกสรตัวผู้ไปผสม  ด้วงจะวางไข่ลงบนเกสรตัวผู้ของปาล์ม ไข่จะฟักเป็นหนอน และดักแด้อยู่บนเกสรตัวผู้ของปาล์มนั่นเอง

ด้วงงวงปาล์มน้ำมัน มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา แต่ถูกนำเข้าไปในประเทศที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั่วโลก รวมทั้งไทย  โดยด้วงสามารถเพิ่มผลผลิตปาล์มได้ 30-60% และลดการใช้แรงงานคนในการผสมเกสร

สำหรับพื้นที่ที่ยังไม่เคยปลูกปาล์มมาก่อนควรสำรวจดูว่ามีด้วงปาล์มน้ำมันอยู่หรือไม่ หากไม่มีควรนำไปปล่อย   และการใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ควรให้มีผลกระทบต่อด้วง

การเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน

การเก็บเกี่ยวผลปาล์มสดรวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงานมีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้
1.ก่อนอื่นจะต้องแต่งช่องทางลำเลียงแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อยสะดวกกับการลำเลียงและการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัดแล้ว เพื่อรวบรวมต่อไป
2.คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผลซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ 10–12 ผล ให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้
3.หากปรากฏว่าทะลายปาล์มสุกที่จะตัดมีขนาดใหญ่  และติดแน่นกับลำต้นมากไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำ ให้ผลร่วงมาก  ก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแชะขั้วทะลายเสียก่อนแล้วจึงใช้เสียมแทง ทะลายปาล์มก็จะหลุดออกคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
4.ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อสะดวกในการขนส่งหรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรลุลงในถังได้สะดวก
5.รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกองในที่ว่างโคนต้น   เก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง กรณีต้นปาล์มมีอายุน้อยทางใบปาล์มอาจรบกวนทำให้เก็บยาก
6.สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดินหรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง  และควรระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน
7.รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวบรวมผลปาล์ม

ข้อควรคิดก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน

แหล่งปลูกปาล์มน้ำมัน แต่เดิมจะปลูกในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป  หรือภาคตะวันออก แต่เนื่องจากปัจจุบัน เกษตรกร ในภาคอื่น ๆ ก็เริ่มหันมาสนใจปลูกปาล์มน้ำมันกันมาก  ข้อควรพิจารณาหากต้องการปลูกปาล์มน้ำมันมีดังนี้

  1. น้ำ :  น้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่สูง  เกษตรกรในภาคใต้ สามารถปลูกปาล์มโดยใช้เพียงน้ำฝน และได้ผลผลิตมากกว่า 2.5 ตันต่อไร่ เนื่องจากฤดูแล้งสั้นกว่าพื้นที่อื่น แต่พื้นที่อื่น ซึ่งฝนทิ้งช่วงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หากใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว ผลผลิตอาจได้เพียง 1-1.5 ตันต่อไร่ซึ่งไม่คุ้มทุน  แต่หากมีแหล่งน้ำแล้ว สามารถปลูกปาล์มได้ทุกพื้นที่ และผลผลิตอาจได้ถึง 4.5-6 ตันต่อไร่ต่อปี หากมีการจัดการที่ดี
  2. แหล่งรับซื้อผลผลิต : แหล่งรับซื้อผลผลิต ไม่ว่าจะเป็นลานปาล์ม หรือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ควรอยู่ห่างจากแปลงปลูกไม่เกิน  150 กิโลเมตร หากไกลกว่านั้น ค่าใช้จ่ายในการขนส่งจะสูงจนไม่คุ้มทุน และยิ่งแปลงปลูกเล็ก ก็ยิ่งควรอยู่ใกล้แหล่งรับซื้อ สำหรับแปลงปลูกขนาดเล็กไม่ควรอยู่ห่างจากแหล่งรับซื้อเกินกว่า 20-30 กิโลเมตร